อัพเดทล่าสุด
หน้าแรก / ธุรกิจ SMEs / จริงหรือ? สิ่งที่เจ้าของธุรกิจครอบครัวมักมองข้าม…จนมักส่งต่อกิจการต่อไปไม่ได้

จริงหรือ? สิ่งที่เจ้าของธุรกิจครอบครัวมักมองข้าม…จนมักส่งต่อกิจการต่อไปไม่ได้

มีผลสำรวจมากมายเผยว่า ธุรกิจครอบครัวรุ่นแรก 100% สามารถส่งต่อกิจการไปสู่รุ่นที่ 3 สำเร็จเพียง 12 % และสามารถส่งต่อกิจการถึงรุ่นที่ 5 ได้เพียง 1 % เท่านั้น ทั้งๆที่ธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจและ GDP ของประเทศ มาดูกันว่าปัญหาจากการส่งต่อหรือการบริหารอะไรบ้างที่เจ้าของกิจการมักมองข้าม

  • ไม่จัดลำดับความสำคัญ

บางธุรกิจครอบครัวเห็นผลประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง ถ้าสิ่งนี้ได้รับผลประโยชน์ต่อตนโดยตรงถึงแม้คนในตระกูลหรือธุรกิจจะเสียผลประโยชน์ ก็ไม่สนใจ! หรือบางธุรกิจครอบครัวเห็นธุรกิจสำคัญกว่าครอบครัว! อันนี้เป็นสิ่งที่ผิดมาก

การทำธุรกิจครอบครัว ตราบใดที่สามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกันไว้ได้ ธุรกิจก็จะเจริญเติบโตตามไปเป็นเงา เพราะเมื่อไหร่ที่ทะเลาะกัน ย่อมส่งผลต่อการบริหารงาน ไม่ไว้ใจกัน จบด้วยการแยกย้ายทำธุรกิจของตัวเอง ธุรกิจที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษก็ต้องจบลงในที่สุด (นี่คือเหตุผลว่าทำไมการทำธุรกิจครอบครัวต้องมีการทำ “ธรรมนูญครอบครัว”)

people-woman-coffee-meeting-large-1

  • ทำงานไม่เป็นระบบ

ธุรกิจผูกขาดอยู่กับเจ้าของเพียงคนเดียว ถ้าเจ้าของไม่อยู่ หรือล้มป่วย ธุรกิจครอบครัวก็ต้องหยุดชะงัก ด้วยความที่สมัยก่อนการทำธุรกิจไม่ต้องมีรายละเอียดอะไรมากมาย มีลูกน้องแค่ไม่กี่คน แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีเครื่องมือมากมายที่จะช่วยทำให้ระบบธุรกิจครอบครัวทำงานง่ายขึ้น เร็วขึ้น และแม่นยำมากขึ้นจึงควรนำมาปรับใช้กับกิจการบ้าง

ยกตัวอย่างการใช้เครื่องคิดเงินแทนเก็บเงินแบบสมัยเก่า ซึ่งง่าย เป็นระบบ และตรวจสอบความถูกต้องได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการบริหารสินค้าในสต๊อก ระบบการขนส่งที่ทำให้ประหยัดเวลาและน้ำมันด้วย
  • ไม่เตรียมความพร้อมคนที่จะเป็นทายาทสืบทอด

ปัญหาหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจไปไม่รอดก็คือ ถึงเวลาเปลี่ยนเจ้าของ คนที่จะเป็นทายาทไม่พร้อมหรือไม่อยากทำ พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก การปั้นคนหนึ่งคนไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังลูกหลานให้หวงแหนธุรกิจครอบครัว ให้เค้ามีความผูกพันกับธุรกิจมาตั้งแต่ต้น

อีกเรื่องที่สำคัญคือ ความรู้และกระบวนการคิด การให้ธุรกิจอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องให้เครื่องมือการบริหารด้วย ซึ่งต้องเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ปลูกฝังเค้าตังแต่เด็กๆยิ่งดี ให้ลูกหลานรู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหาด้วยสติ ใจเย็น และทักษะเฉพาะตัวอื่นๆที่ต้องใช่ในธุรกิจครอบครัว

family-eating-at-the-table-619142_640

  • ให้ความสำคัญกับธุรกิจ มากกว่าครอบครัว

เป็นธรรมดา คนที่ทำงานมากๆจะเผอเรอเรื่องความสัมพันธ์กับคนในบ้าน เพราะคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่นี่ก็เพื่อครอบครัวอยู่แล้ว แต่บางทีครอบครัวไม่ได้ต้องการเงินมากกว่าตัวคุณหรอกค่ะ คุณไปกินข้าวกับพ่อแม่ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่? พาภรรยาไปเที่ยวหรือกินข้าวนอกบ้านครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?

ลองสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับครอบครัวดูว่า ตอนนี้มันดีหรือแย่กว่าแต่ก่อน ถ้ามันส่อแววว่าความสัมพันธ์ห่างเหิน อย่าลืมหาเวลาทำกิจกรรมกับพวกเค้าเยอะๆ อาจจะหยุดทุกวันอาทิตย์ไม่ก็ทุกเทศกาลเพื่อให้เวลากับครอบครัว ถ้าลูกยังเล็กเล่นกับเค้าบ้างนะคะ เค้าโตแล้วจะย้อนเวลากลับมาก็ไม่ได้ พ่อแม่ก็เช่นกัน เค้าอาจจะกำลังรอคุณไปกินข้าวเย็นด้วยก็ได้
  • การไม่ค่อยแคร์ความรู้สึกกัน เพราะคิดว่าเป็นคนในครอบครัว

นี่แหละคือจุดเริ่มต้นของการลืมบทบาทตัวเอง! จริงอยู่ที่คนในครอบครัวจะรู้นิสัยกันดี แต่อย่าลืมว่าใครๆก็ชอบได้รับการปฏิบัติที่ดีทั้งนั้น ตามความเป็นจริงถ้าคุณทำงานออฟฟิต เมื่อไม่พอใจอะไร ก็ต้องเลี่ยงการแสดงออกที่ไม่ดีเพื่อรักษาความสัมพันธ์ในที่ทำงาน หรือเพื่อไม่ให้ถูกไล่ออก จริงมั้ยคะ

การทำงานที่บ้านก็เช่นกัน ทางที่ดียิ่งต้องระวัง 2 เท่าเพราะอย่าลืมว่าเรามี 2 ความสัมพันธ์ คืองานและครอบครัว ถ้าเราไม่ใส่ใจคนในครอบครัวหรือในตระกูล แล้วเราจะไปใส่ใจใคร…

อีกอย่างเป็นเรื่องของการแสดงออกอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าคุณจะโมโหมากแค่ไหน แต่ถ้าคุณสามารถแยกแยะได้ คุณจะได้ใจคนทั้งหมด ไม่ว่าจะคนในครอบครัว ลูกน้อง และธุรกิจก็ย่อมผ่านไปด้วยดี

laughter-775062_640

  • เชื่อคนนอกมากกว่าคนในครอบครัว

เหตุผลเกิดจากความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน อาจจะเกิดจากนิสัยส่วนตัว วิสัยทัศน์ หรือความผิดพลาดที่เคยทำไว้ ทางแก้คือ ถ้าเป็นเรื่องการเงินต้องมีความโปร่งใสและเท่าเทียมกัน ไม่มีการลำเอียง

ส่วนเรื่องงานต้องให้โอกาสคนในครอบครัว สร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรม สื่อสารกันให้มาก แนะนำกันและรับฟังกัน อย่าเป็นคนหูเบา เพราะการที่คนนอกพูดอะไรก็ตามเค้าอาจจะเตือนด้วยความหวังดีจริง หรือเค้าอาจจะหวังผลประโยชน์อย่างอื่นก็ได้ ต้องใช้สติให้มาก
advertisement

About Admin

"สยามอาชีพ" อาชีพเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.