อัพเดทล่าสุด
หน้าแรก / ข่าวสาร / AEC 7 อาชีพเสรีในอาเซียน อาชีพไหนรุ่ง อาชีพไหนเป็นที่น่าสนใจหลังเปิดประตูสู่อาเซียน
7อาชีพอาเชียน

AEC 7 อาชีพเสรีในอาเซียน อาชีพไหนรุ่ง อาชีพไหนเป็นที่น่าสนใจหลังเปิดประตูสู่อาเซียน

อาชีพอาเซียน กำหนดการเปิด AEC จริงๆแล้วมีกำหนดเปิดไปตั้งแต่ 1 มกราคม 2015 แต่เนื่องจากยังมีข้อตกลงอยู่หลายๆข้อที่ยังตกลงกันไม่ได้ ผู้นำชาติอาเซียนจึงตัดสินใจ ประกาศเลื่อนออกไป เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2015 ซึ่งนี่ก็ใกล้เข้ามาทุกทีๆ เมื่อเปิด AEC อาชีพที่จะได้รับผลประโยชน์ทันทีมีอยู่ 7 อาชีพ เป็นอาชีพที่มีข้อตกลงร่วมกันแล้วว่า จะสามารถมีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างอิสระเสรีใน 10 ประเทศ อาชีพทั้ง 7 นี้ได้แก่

  1. วิศวกร (Engineering Service)
  2. แพทย์ (Medical Practitioners)
  3. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
  4. พยาบาล (Nursing Services)
  5. สถาปนิก (Architectural Services)
  6. นักสำรวจ (Surveying Qualifications)
  7. นักบัญชี (Accountancy Services)

ข้อมูลอ้างอิง : : http://www.nstda.or.th/news/15172-freelance

ถึงแม้ว่าจะมีถึง 7 อาชีพที่เปิดโอกาสให้ มีการเคลื่อนย้ายแรงงานกันได้อย่างเสรี แต่ยังมี อีกอาชีพหนึ่งที่สงวนไว้ให้กับคนไทยอยู่นั่นก็คือ อาชีพไกด์ หรือมัคคุเทศก์

เป็นไงคะ ทีนี้เริ่มเห็นหนทางสู่อาชีพเสริมกันรึยัง คำถามต่อไปคือ

ถ้าไม่ได้จบไกด์ และไม่มีความรู้ล่ะ เราจะยังเป็นไกด์ได้มั้ย ถ้าเราเป็นบุคคลทั่วไปเราจะเริ่มต้นจากตรงไหน จะมีหลักสูตรอะไรให้เราเรียนได้บ้างหรือไม่ ..

อยากเป็นไกด์ เริ่มต้นจากตรงไหน

จริงๆแล้วในมหาวิทยาลัยจะมีวิชาที่เรียนจบออกมาแล้วเป็นไกด์ได้โดยตรง หรือเรียนสาขาที่ใกล้เคียงแล้วนำมาประยุกต์และไปสอบเป็นไกด์ได้ภายหลัง อย่างเช่น คณะศิลปะศาตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม, คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, นิเทศศาสตร์, เป็นต้น

แต่ถ้าวันนี้คุณจบมานานแล้วและเพิ่งมาค้นพบตัวเองว่า “ฉันอยากเป็นไกด์จัง” ก็ยังไม่ต้องหมดหวังไป โอกาสยังมีอยู่ค่ะ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (หรือกระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง) มีการร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา จัดอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ ให้กับบุคคลทั่วไปที่อยากจะเป็นไกด์อยู่เรื่อยๆค่ะ มีกันหลายมหาลัยเลยค่ะ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มาหวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นลักษณะการอบรมณ์ระยะสั้น 3-6 เดือนแล้วแต่หลักสูตรค่ะ

ข้อมูลคร่าวๆในหลักสูตร

(**แต่ละหลักสูตรมีรายละเอียดแตกต่างกัน ทั้งนี้สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสถาบันการศึกษา**)

  • ระยะเวลา3-6 เดือน แล้วแต่หลักสูตร ซึ่งมีการบรรยายและทัศนศึกษา
  • วัน เวลาในการฝึกอบรม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ หรือ วันธรรมดาหลังเลิกงาน
  • มีการศึกษานอกสถานที่
  • มีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้วยนะ
  • เป็นหลักสูตรที่เกิดจากสถาบันการศึกษาและกระทรวงของภาครัฐ จึงมีความน่าเชื่อถือ
  • วิทยากรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
  • หัวข้อที่ใช้ในการอบรมมีประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง เช่น ความรู้ประวัติศาสตร์, เทศกาลและงานประเพณี, สถานที่ท่องเที่ยว, การใช้ภาษาในอาชีพมัคคุเทศก์, บทบาทหน้าที่ จรรยาบรรณและวิธีปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์,พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นต้น

เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้ว นำใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรม, วุฒิการศึกษาและเอกสารประกอบ ไปขอรับใบอนุญาตที่ สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยผุ้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นสมาชิกของสมาคมมัคคุเทศก์แห่งใดแห่งหนึ่งตามประกาศ

ผู้ที่จะเป็นไกด์ ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. พูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ
  2. มีความรู้ทั่วไป และเป็นผู้ที่ขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอ
  3. รักการเดินทางท่องเที่ยว และงานบริการ ปรับตัวได้ และเป็นนักแก้ไขปัญหาได้ดีใน ทุกสถานการณ์
  4. มีความยืดหยุ่น ประนีประนอม และมีลักษณะอบอุ่นโอบอ้อมอารีเป็นที่ไว้วางใจของ ผู้เดินทางร่วมไปด้วย
  5. มีความเป็นผู้นำ มีความกล้า มีความรอบคอบและไม่ประมาท
  6. มีทัศนะคติดี ร่าเริง มีความเสียสละซื่อสัตย์ ซื่อตรง และอดทน
  7. สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบและปฏิภาณดี
  8. มีความคิดสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  9. เป็นนักสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย และการบรรยายความรู้ต่าง ๆ
  10. เป็นนักจัดเก็บข้อมูลที่ดี ทั้งข้อมูลการ ท่องเที่ยว ความนิยมของลูกค้า และรายชื่อลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว

ข้อมูลอ้างอิง : http://vimonsiri-mimew.blogspot.com/2010/05/blog-post_9518.html

advertisement

About Admin

"สยามอาชีพ" อาชีพเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.