อัพเดทล่าสุด
หน้าแรก / นานาสาระ / แรงงานอาชีพ แรงงานต่างด้าวกับข้อกำหนดที่ควรรู้สำหรับนายจ้างและลูกจ้าง(ต่างด้าว)

แรงงานอาชีพ แรงงานต่างด้าวกับข้อกำหนดที่ควรรู้สำหรับนายจ้างและลูกจ้าง(ต่างด้าว)

สำหรับวันนี้ สยามอาชีพ.คอม นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยหรือนายจ้างอยากได้ลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าว ก็จำเป็นต้องรู้เพื่อคุ้มครองสิทธิทั้งตัวลูกจ้างและตัวนายจ้างเอง

เลือกใช้แรงงานต่างด้าว เลือกอย่างไรให้ถูกกฎหมาย

คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

สำหรับนายจ้าง ที่ต้องการหาแรงงานต่างด้าวมาทำงาน มีข้อปฏิบัติดังนี้

  • รับคนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเท่านั้น
  • ไม่รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงานกับตน หรือทำงานที่มีลักษณะงาน หรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

ส่วนแรงงานต่างด้าว มีข้อปฏิบัติดังนี้

  • ถือใบอนุญาตทำงานไว้กับตัว หรือ ณ สถานที่ทำงาน
  • ทำงาน ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำงานเท่านั้น
  • กรณี ใบอนุญาตทำงานชำรุด สูญหาย ยื่นขอใบแทนภายใน 15 วัน
  • กรณี เปลี่ยน/เพิ่ม การทำงาน สถานที่ทำงาน ท้องที่การทำงาน หรือ นายจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อนจึงจะทำงานนั้นได้

ระยะเวลาในการอนุญาต

คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) จะพิจารณาให้ตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 1 ปี และให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในขณะออกใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น (มาตรา 10) จะได้รับอนุญาตตามระยะเวลาซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาตใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว

ตามมาตรา 12 ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีกรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนให้มีอายุ 30 วันนับแต่วันออกใบอนุญาต มีดังนี้

  1. กรรมกร (ทั่วไป) กรรมกร (ก่อสร้าง)
  2. คนสวน
  3. เลี้ยงสัตว์ ยกเว้น งานเลี้ยงไหม
  4. ช่างปูน
  5. ช่างไม้ก่อสร้าง
  6. ช่างทาสี
  7. ช่างไม้เครื่องเรือน
  8. พนักงานซักรีดเสื้อผ้า
  9. ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ยกเว้นเสื้อผ้าสตรี
  10. พนักงานขายอาหารและเครื่องดื่ม
  11. พนักงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
  12. พนักงานขายของหน้าร้าน
  13. ช่างซ่อมจักรยาน
  14. ช่างซ่อมเบาะรถ
  15. ช่างซ่อมตัวถังรถ
  16. ช่างซ่อมท่อไอเสียรถ
  17. ช่างบัดกรีโลหะแผ่นด้วยมือ
  18. ช่างเลื่อยไม้ในโรงงานแปรรูปไม้
  19. ช่างซ่อมประตูหน้าต่าง
  20. ช่างติดตั้งมุ้งลวด
  21. ช่างย้อมผ้า
  22. ช่างซ่อมรองเท้า
  23. ช่างซ่อมนาฬิกา, ปากกา, แว่นตา
  24. ช่างลับมีด
  25. ช่างทำกรอบรูป
  26. ช่างทำเครื่องทองและเครื่องเงิน
  27. ช่างทอถักไหมพรมและทอผ้า ด้วยมือ

มาตรา 4 ให้กำหนดงานในอาชีพหรือวิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ในบัญญัติท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ เพื่อการค้าหรือหารายได้โดยเด็ดขาดในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร 39 อาชีพ มีดังต่อไปนี้

  1. งานกรรมกร
  2. งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม
  3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น
  4. งานแกะสลักไม้
  5. งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ
  6. งานขายของหน้าร้าน
  7. งานขายทอดตลาด
  8. งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว
  9. งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย
  10. งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย
  11. งานทอผ้าด้วยมือ
  12. งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่
  13. งานทำกระดาษสาด้วยมือ
  14. งานทำเครื่องเขิน
  15. งานทำเครื่องดนตรีไทย
  16. งานทำเครื่องถม
  17. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
  18. งานทำเครื่องลงหิน
  19. งานทำตุ๊กตาไทย
  20. งานทำที่นอนผ้าห่มนวม
  21. งานทำบาตร
  22. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
  23. งานทำพระพุทธรูป
  24. งานทำมีด
  25. งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า
  26. งานทำรองเท้า
  27. งานทำหมวก
  28. งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
  29. งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
  30. งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ
  31. งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
  32. งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
  33. งานมวนบุหรี่ด้วยมือ
  34. งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
  35. งานเร่ขายสินค้า
  36. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
  37. งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ
  38. งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ
  39. งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี

**หมายเหตุ ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา)

ทำงานได้ 2 อาชีพ คือ 1. งานกรรมกร และ 2. งานบ้าน

คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องปฏิบัติดังนี้

  1. มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000.-  บาท)
  2. ทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน (มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000.- บาท ถึง 100,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่น หรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000.- บาท)
  4. ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้
  5. กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ
  6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า

ที่มาจาก : สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว 

advertisement

About Admin

"สยามอาชีพ" อาชีพเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.