อัพเดทล่าสุด
หน้าแรก / ธุรกิจ SMEs / ธุรกิจครอบครัว SME ดีจริงหรือไม่? เรียนรู้ได้ ก่อนลงมือทำ

ธุรกิจครอบครัว SME ดีจริงหรือไม่? เรียนรู้ได้ ก่อนลงมือทำ

การทำ “ธุรกิจครอบครัว SME” บางคนก็บอกว่าดีเพราะเงินไม่รั่วไหล คนกันเองบริหารกันเอง ได้เงินมาก็แบ่งกันในครอบครัวและเครือญาติ แต่บางคนกลับมองมุมต่างเพราะเห็นว่าการทำ SME ธุรกิจครอบครัวหรือการดึงญาติๆมาทำธุรกิจมีแต่ปัญหา ตอนเป็นญาติกันก็คุยง่าย แต่พอได้ทำธุรกิจด้วยกันแล้วกลับอึดอัด อย่างนี้ก็มี แอดมินจึงยกประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่ออยากให้คนที่กำลังคิดจะทำ “ธุรกิจครอบครัว SME” ได้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียค่ะ

ข้อดีของการทำธุรกิจครอบครัว SME

  • ต่างก็รู้นิสัยและความคิดกันดี

การแสดงความคิดเห็นจึงเป็นเรื่องง่าย ตรงประเด็น ไม่ต้องมัวเกรงใจเหมือนทำงานออฟฟิต เมื่อเกิดปัญหาเราจะรู้ว่าควรแก้ไขยังไง

  • การบริหารการเงินสามารถไว้ใจได้ดีกว่าจ้างบัญชีที่เป็นคนนอก

เพราะความรู้สึกว่านี่คือเงินของครอบครัว เราจะใส่ใจมากขึ้น แต่ทั้งนี้คนที่มีหน้าที่ทำบัญชีควรมีความรู้ หรือไปเรียนเรื่องการทำบัญชีเพิ่มเติม

  • ง่ายต่อการจัดสรรความรับผิดชอบ

เพราะจะรู้ว่าใครถนัดอะไร และเมื่อคนใดคนหนึ่งเหนื่อยเกินไปหรือไม่ถนัดกับหน้าที่ที่ได้รัยมอบหมาย ก็ง่ายที่จะบอกคนอื่น ซึ่งถ้าทำงานบริษัทอาจจะไม่กล้าบอกทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพ

ข้อเสียของการทำธุรกิจครอบครัว SME

  • ต้องแยกแยะเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว

ถ้าแยกแยะเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวไม่ออก จะทำให้เกิดปัญหาภายในบ้าน เพราะต้องเจอกันอยู่ด้วยกันตลอด

  • ถ้ามีปัญหาแล้วไม่เคลียร์ จะทำให้ปัญหาเล็กๆ สะสมกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้

เห็นว่าเป็นครอบครัวจึงต่างเอาแต่ใจ ไม่ฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่ผิดมากๆ

  • ไม่ค่อยศึกษาแผนการตลาด

เป้าหมายของธุรกิจครอบครัว SME ส่วนใหญ่ต้องการแค่มีรายได้ก็เพียงพอ โดยไม่ได้สนใจเลยว่าคู่แข่งเขาทำอะไรพัฒนาไปถึงไหนแล้ว จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหลายธุรกิจจึงย่ำอยู่กับที่ ถึงจะเป็นธุรกิจครอบครัวก็ต้องรู้หลักการตลาด วิเคราะห์ตลาดเป็น ถ้ามีโอกาสควรมีคนไปอบรมบ้าง เพื่อนำความรู้มาใช้กับธุรกิจครอบครัวของตน

2 ข้อสำคัญ ที่ผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว SME ต้องมี

  • เป้าหมาย ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันเสมอ

บางช่วงของธุรกิจอาจนำพาไปถึงจุดเปลี่ยน ทั้งในแง่ที่ดีขึ้นหรืออาจจะแย่ลง อย่างเช่น เมื่อผลประกอบการของธุรกิจครอบครัว SME ดีขึ้นในระดับหนึ่ง ถ้าเป้าหมายของทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า “อยากจะขยายสาขา” การดำเนินงานก็ย่อมเป็นไปในทางเดียวกันเพราะมีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือ การขยายสาขา

แต่สมมุติว่าผลประกอบการไม่เป็นอย่างที่ฝัน สมาชิกมีเป้าหมายที่ต่างกันคือ “จะเก็บธุรกิจไว้ดีมั้ย…หรือจะขายต่อ!” คนเป็นพ่ออาจจะอยากเก็บธุรกิจไว้ เพราะเป็นสิ่งที่สร้างมากับมือย่อมไม่อยากให้ธุรกิจปิดกิจการ แต่ลูกอาจจะมองไปถึงอนาคตว่ายิ่งปล่อยให้ขาดทุนแบบนี้รังแต่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจของครับครัว สู้ขายไปดีกว่ายังได้ทุนคืนมา เมื่อความคิดเห็นต่างกันแบบนี้

สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือพยายามอย่าให้เกิดความขัดแย้ง พ่อกับลูกรวมถึงสมาชิกทุกคนควร “ร่วมกันหาทางออก หลีก เลี่ยงการใช้อารมณ์ และคุยกันด้วยเหตุผล” อาจจะมานั่งประชุมกัน ว่าถ้าเราเลือกทางใดทางหนึ่ง ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ถ้าเรายืนยันที่จะรักษาธุรกิจไว้ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นหรือไม่ คุ้มค่าหรือไม่ ถ้ายังพอมีทางออกให้ธุรกิจครอบครัว SME ก็คุ้มค่าที่จะเก็บไว้ แต่ถ้ามองแล้วยากที่ธุรกิจจะฟื้นตัว ก็ตกลงกันว่าควรขาย
  • การอยู่ร่วมกันกฎเหล็กสำคัญที่สุด

กฎเหล็กในความหมายของแอดมินไม่ใช่กฎที่โหดๆ นะคะ แต่หมายถึง “กฎ” ที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด! ต้องเคร่งครัดจริงๆ เพราะโดยธรรมชาติของการทำงานด้วยกันจะชอบอะลุ่มอล่วย ยิ่งถ้าเป็นการทำงานในครอบครัวแล้ว พ่อ…เมื่อเห็นลูกไม่ทำตามกฎอาจจะมองว่า ช่างเถอะเด็กยังไม่เคยทำธุรกิจ หรือคิดว่าไม่เป็นไร

แต่หารู้ไม่ว่า การที่ทำธุรกิจครอบครัวแล้วไม่เคร่งครัดต่อกฎระเบียบ อนาคตจะเป็นการบริหารงานที่ “ยุ่งยากที่สุด” ยากกว่าการจ้างลูกน้องเสียอีก เพราะจ้างลูกน้องทำผิด ไล่ออกได้ แต่นี่คือครอบครัวจะไล่ออกยังไง จริงมั้ยคะ

ฉะนั้น ไม่ว่าจะเอาลุง ป้า น้า อา ลูก เมีย มาทำธุรกิจด้วย กฎ กติกา หน้าที่การทำงาน จะต้องถูกระบุไว้ให้ชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะคนที่ตั้งกฎขึ้นมาด้วยนะคะ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณไม่ทำตามกฎ เชื่อได้เลยว่าไม่มีใครทำตามคุณแน่นอน

การทำธุรกิจครอบครัว SME จะมีความใกล้ชิดกันมาก เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่มากกว่า 1 คือเป็นทั้ง “ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน” จึงมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจครอบครัว SME คือทุกคนควรแยกแยะให้ออก เวลาไหนคืองาน เวลาไหนคือเวลาส่วนตัว ถ้าเลิกงานแล้วเอาเรื่องงานมาคุยกันตอนอาหารเย็น แล้วเกิดการทะเลาะกัน ก็อาจจะเกิดปัญหาได้ ทุกคนควรถ้อยทีถ่อยอาศัย ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี นึกถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย มีอะไรควรคุยกันด้วยเหตุผล และอย่าลืมหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจคะ

advertisement

About Admin

"สยามอาชีพ" อาชีพเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.