อัพเดทล่าสุด
หน้าแรก / ข่าวสาร / โครงการสนับสนุน SME ที่น่าจับตามองในปี 2559
สสว

โครงการสนับสนุน SME ที่น่าจับตามองในปี 2559

ต้องยอมรับว่าจุดอ่อนที่สำคัญของ SME ก็คือเรื่องของ “เงินทุน” ธุรกิจจะสามารถดำเนินไปได้นั้นต้องมีทุนที่เพียงพอ แต่ก็มี SMEอยู่จำนวนมากที่ขาดเงินทุนอาจเป็นผลประกอบการไม่ดีเพราะพิษเศรษฐกิจ ระดมทุนได้ยากเพราะโครงสร้างธุรกิจเป็นขนาดเล็ก หรือเกิดสภาวะขาดทุน ซึ่งนั่นทำให้ SME ส่วนใหญ่ไม่สามารถเติบโตในธุรกิจได้เท่าที่ควรจะเป็น

ฉะนั้นหน่วยงานต่างๆจึงร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนให้ SME แข็งแกร่งและอยู่รอดให้ได้ โครงการที่น่าสนใจสนับสนุน SME ทั้งภาครัฐและเอกชนในปี 2559 มีดังต่อไปนี้

พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีเอสเอ็มอี (สรุปใจความสำคัญดังนี้)

มีจุดประสงค์เพื่อ ต้องการให้ผู้ประกอบการ SME ใช้บัญชีเล่มเดียวในการยื่นเสียภาษีต่อกรมสรรพากร และต้องการให้การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีเอสเอ็มอีนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 โดยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้าข่ายจะได้รับการยกเว้นตรวจสอบภาษี และต้องไม่เป็นธุรกิจที่มีคดีเก่าติดค้าอยู่ด้วย

รายละเอียดของ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีเอสเอ็มอี กลุ่มเป้าหมายคือ

  • บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในปีบัญชี 2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท
  • ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ ในปีบัญชี 2558 ไม่เกิน 30 ล้านบาท
  • ธุรกิจเหล่านี้ให้แจ้งต่อกรมสรรพากร “โดยใช้บัญชีเล่มเดียว” จะได้รับยกเว้นการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง
  • การยื่นเอกสารต่อกรมสรรพากรง่ายมาก สามารถทำผ่าน web site ของกรมสรรพากรได้เลย ซึ่งเปิดให้ใช้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2559

ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับ

  • ได้รับการยกเว้นการตรวจสอบภาษีย้อนหลังของรายได้ ในรอบระยะเวลาใน หรือ ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2558
  • ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในรอบปีบัญชี 2559
  • ได้รับการ ยกเว้น และ ลด ภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบบัญชี 2560 เป็นต้นไป (ที่มา : http://goo.gl/3caeXH)

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เสริมสร้างขีดความสามารถเจ้าของธุรกิจ SME ตามเขตชายแดน

แม้เป็นธุรกิจ SME ตามเขตชายแดนแต่ก็ได้รับความสนใจจากภาครัฐไม่แพ้กัน เพราะตามชายแดนเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญที่มีการขนส่ง การถ่ายสินค้า และการจ้างแรงงานต่างด้าวสูง นอกจากนี้ยังมีการท่องเที่ยวท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมทุกเทศกาล

คณะ คสช. เล็งเห็นถึงความสำคัญตรงจุดนี้ จึงจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษครอบคลุมเขตชายแดน 10 จังหวัดได้แก่ จังหวัดตาก, มุกดาหาร, สระแก้ว, ตราด, สงขลา, เชียงราย, กาญจนบุรี, หนองคาย, นครพนม และ นราธิวาส โดย กสอ.ร่วมจัดโครงการพัฒนาศักยภาพ SMEขึ้น เพื่อรองรับผู้ประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้

กสอ. มุ่งหวังให้ SMEตามเขตชายแดน เห็นความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากโครงการของ คสช. และเป็นการสร้างขีดความสามารถของตัวเอง กสอ.มองว่าระบบการคมนาคมสะดวกขึ้นมากจึงเหมาะที่จะส่ง เสริม ให้เป็นฐานการผลิตพัฒนาอุตสาหกรรม ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ช่วยลดความเหลื่อมล้ำโดยการกระจายรายได้สู่ต่างจังหวัดด้วย (ที่มา : http://goo.gl/YOjzz4)

ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. ได้รับมอบนโยบายจากภาครัฐให้ดูแลผู้ประกอบการด้านการเกษตร

ธุรกิจ SME ภาคการเกษตรมีความสำคัญในแง่ของการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชาวไร่ชาวสวน แต่อย่างไรก็ตาม SME ภาคการเกษตรยังต้องการความช่วยเหลืออยู่มาก

  • ถึงแม้จะมีความรู้ในเรื่องการผลิตสินค้าแต่ก็อ่อนเรื่องการทำการตลาด และการหาตลาดรองรับสินค้า
  • อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องปัญหาภัยแล้ง
  • สนันสนุนเรื่องเงินทุน และราคาสินค้า
  • รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งรัฐบาลก็ไม่นิ่งนอนใจ นโยบายปีนี้ก็ไม่ใช่แค่การบรรเทาทุกข์อย่างที่ผ่านมา แต่ยังเน้นไปถึงการปฏิรูปการเกษตร มุ่งหวังให้เป็นการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมในอนาคต เน้นพัฒนาสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มรวมถึงสร้างความหลากหลายในขั้นตอนการเพาะปลูกด้วย (ที่มา : http://goo.gl/oho8L2)

โครงการ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ Soft Loan (ซอฟท์โลน)

ธ.ออมสิน ร่วมมือกับสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพาณิชย์กว่า 20 แห่ง ร่วมมือกันก่อตั้งโครงการ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือโครงการ Soft Loan ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักกันดีในกลุ่มธุรกิจ SME โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน โครงการนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้วและได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี โครงการ Soft Loan ครั้งที่ 2 นี้ มีเงื่อนไขแตกต่างไปจากโครงการเฟตแรกอยู่บ้าง จากเฟตแรกที่กำหนดเงินต้นไว้ไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ในเฟตที่ 2 วงเงินสินเชื่อต่อรายกำหนดไว้ไม่เกิน 10 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ย ยังคิด 10% ต่อปีเหมือนเดิม

ธนาคาร TMB เปิดบริการสายด่วน SME เน้นให้ข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกให้กับผู้ประกอบการรายย่อยได้โทรเข้าไปปรึกษา หรือขอข้อมูลได้ โครงการนี้เป็นผลดีต่อ SME โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และกังวลเรื่องนำเข้าส่งออกเพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะพอสมควร สิ่งที่เน้นเป็นพิเศษคือเรื่องอัตราการแลกเปลี่ยน ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 02-676-8036 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-17.00 ยกเว้นวันหยุดธนาคาร (ที่มา : http://goo.gl/WlLQVO)

SME มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เพราะธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ มีบทบาททั้งเป็นผู้ซื้อและขาย SMEในต่างจังหวัดยังช่วยรองรับคนงานไม่ให้ไหลเข้าตัวเมืองมากเกินไป แถมยังช่วยสร้างเม็ดเงินให้ท้องถิ่นได้ เพื่อให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้น ทั้งภาครัฐและเอกชนจึ้งต้องร่วมมือกันส่งเสริม SME จนสามารถแข็งแกร่งได้

advertisement

About Admin

"สยามอาชีพ" อาชีพเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.