อัพเดทล่าสุด
หน้าแรก / ข่าวสาร / รัฐบาล ออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีเอสเอ็มอี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 59

รัฐบาล ออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีเอสเอ็มอี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 59

เริ่มต้นปีใหม่ 2559 กับข่าวสำคัญเกี่ยวกับธุรกิจเอสเอ็มอี จากกระทรวงการคลังได้ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) นิรโทษกรรมการตรวจสอบภาษีย้อนหลังสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ข่าวนี้ทำให้เอสเอ็มอี หลายรายให้ความสนใจว่าคืออะไร และจะกระทบกับตัวเองหรือไม่

พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนี้มีทั้งหมด 9 มาตรา ออกขึ้นเพื่อ ยกเว้น และ สนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 มีผลสำหรับเอสเอ็มอีกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 500 ล้านบาทในปีบัญชี 2558 โดยสรุปสาระสำคัญของ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีเอสเอ็มอี มีดังต่อไปนี้

ธุรกิจเอสเอ็มอีกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 500 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน หรือสั่งให้เสียภาษีอากร แต่อย่างไรก็ตาม พ.ร.ก.นิรโทษกรรมภาษีเอสเอ็มอี จะไม่ใช้บังคับกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังต่อไปนี้   (เพื่อให้เข้าใจง่ายๆจะขอเรียกว่า ธุรกิจ)
  1. ธุรกิจ ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบภาษีที่มีหมายเรียกออกมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559
  2. ธุรกิจ ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินตั้งแต่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559
  3. ธุรกิจ ที่ออกใบกำกับภาษีปลอม, ใช้ใบกำกับภาษีปลอม และหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีอากร
  4. ธุรกิจ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีในชั้นศาล

(ข้อความส่วนนี้สรุปมาจากส่วนของ มาตรา 4 ใน พ.ร.ก. )

ธรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4ดังกล่าวที่ยื่นขอคืนภาษี เพื่อประโยชน์ในการคืนภาษีอากร ธุรกิจจะต้องให้เจ้าพนักงานประเมินที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบภาษีอากรที่ขอคืน หรืออกหมายเรียกเพื่อมาตรวจสอบภาษีอากรที่ขอคืน

ธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ได้รับการยกเว้นตาม มาตรา 4 จะต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องแจ้งต่อกรรมสรรพากร ว่าเป็นผู้ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.ก.
  2. ยื่นรายการในการคำนวณภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พร้อมชำระภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้า
  3. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ (แล้วแต่กรณี) พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ทั้งนี้ ต้อยื่นแบบตั้งแต่เดือน มกราคม 2559 เป็นต้นไป
  4. ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ

(ข้อความส่วนนี้สรุปมาจากส่วนของ มาตรา 6 ใน พ.ร.ก. )

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดที่ไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 6 อธิบดีกรมสรรพากรจะมีคำสั่งเพิกถอนการได้รับยกเว้นตามมาตรา 4 ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น

ซึ่งเมื่อมีการเพิกถอน ให้ถือว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีนั้นไม่เคยได้รับการยกเว้นใดๆตาม พ.ร.ก. และเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจในการตรวจสอบหรือสั่งให้เสียภาษีอากร

รายงายข่าวระบุว่า เหตุผลในการออก พ.ร.ก.นี้เพื่อให้ระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และต้องการให้ธุรกิจจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับความเป็นจริง (บัญชีเล่มเดียว) ซึ่งจะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร และเพื่อความสะดวกกรมสรรพากรยังเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของเว็บไซต์กรมสรรพากร เอสเอ็มอีสามารถเข้าไปกรอกข้อมูลได้ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.59 ถึง 15 มี.ค.59

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/557873 , http://www.posttoday.com/economy/finance/408122

advertisement

About Admin

"สยามอาชีพ" อาชีพเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.